วันอังคารที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

รู้จักพาร์กินสัน โรคสั่นของคนสูงวัย


“พาร์กินสัน” โรคที่ชื่อฟังดูประหลาดนี้มีที่มาที่ไปอย่างไร และทำไมถึงเจาะจง
เป็นเฉพาะคนสูงอายุ วันนี้เราจะพาไปทำความร ู้จักกัน



รู้เรื่องพาร์กินสัน
โรคพาร์กินสันเป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมของเซลล์ประสาทบริเวณก้านสมอง ส่งผลให้สารเคมีชนิดที่
ชื่อว่า โดปามีน (Dopamine) ซึ่งมีความสำคัญต่อการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายมีปริมาณลดลง ทำให้
การทำงานของระบบการควบคุมการเคลื่อนไหวของร่างกายผิดปกติ โดยมากพบในผู้ที่มีอายุ 65 ปีขึ้นไปทั้ง
ชายและหญิง 
สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพาร์กินสัน คือ
1. ความชราภาพของสมอง เมื่อถึงวัยชราบางคนเซลล์สมองที่สร้างสารโดปามีนจะมีจำนวนลดลง ซึ่งทำให้ความจดจำตลอดจนการสั่งการของสมองผิดปกติไปด้วย
2. การกินยากล่อมประสาท หรือยานอนหลับที่ออกฤทธิ์กดหรือต้านการสร้างสารโดปามีน โดยมากผู้ป่วยทางจิตเวชที่ได้รับยากล่อมประสาทติดต่อกันเป็นเวลานานก็จะมีโอกาสเป็นโรคพาร์กินสันได้เช่นกัน
นอกจากนั้นอาจมาจากสาเหตุอื่นๆ อาทิ สารพิษบางชนิด เช่น สารแมงกานีสในโรงงานถ่านไฟฉาย พิษจากสารคาร์บอนมอนอกไซด์ที่เข้าสู่ร่างกาย หรือในบางกรณีที่สมองขาดออกซิเจนในเวลานาน เช่น จมน้ำ ถูกบีบคอ หรือเกิดการอุดตันในทางเดินหายใจจากเสมหะหรืออาหารเป็นต้น
อาการของพาร์กินสัน
1. อาการของโรคพาร์กินสันที่แสดงออกชัดเจนและมักพบในผู้ป่วยทั่วไปมีดังนี้คือ
2. อาการสั่น มักพบได้บ่อยที่มือและเท้า แต่บางครั้งผู้ป่วยบางคนก็เป็นที่คางหรือลิ้น ประมาณร้อยละ 60 70 ของผู้ป่วยจะมีอาการสั่น โดยเฉพาะเวลาอยู่นิ่งๆ จะสั่นมาก (ประมาณ 48 ครั้งต่อวินาที) แต่ถ้ามีการเคลื่อนไหวหรือทำกิจกรรมโดยไม่อยู่นิ่ง อาการสั่นก็จะลดลงหรือหายไป
3. อาการเกร็ง ผู้ป่วยจะรู้สึกปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อ โดยเฉพาะที่บริเวณโคนแขน โคนขา และลำตัว แม้ว่าจะไม่ได้เคลื่อนไหวหรือทำงานหนักก็ตาม ผู้ป่วยบางรายต้องกินยาแก้ปวดหรือต้องนวดอยู่เป็นประจำ
4. มีการเคลื่อนไหวช้ากว่าปกติ ระยะแรกผู้ป่วยอาจทำกิจกรรมต่างๆ ที่เคยทำตามปกติช้าลงและเคลื่อนไหวไม่กระฉับกระเฉงว่องไวเหมือนก่อน โดยเฉพาะระยะเริ่มต้นของการเคลื่อนไหว ถ้าเป็นมากขึ้นอาจเดินเองไม่ได้ ต้องใช้ไม้เท้าหรือใช้คนพยุง
5. การทรงตัวลำบาก จนทำให้ท่าเดินผิดปกติไปจากเดิม นอกจากนั้นผู้ป่วยบางคนยังเดินหลังค่อม ตัวงอ มือชิดแนบลำตัวหรือเดินแข็งทื่อเป็นหุ่นยนต์ ทำให้หกล้มได้บ่อยๆ โดยเฉพาะผู้สูงอายุบางคนถึงกับกระดูกต้นขาหัก สะโพกหัก ศีรษะแตก เป็นต้น
6. นอกจากอาการข้างต้นแล้ว ผู้ป่วยโรคพาร์กินสันบางรายยังมีอาการแทรกซ้อนอื่นอีก เช่น สีหน้าเฉยเมย ไม่ค่อยยิ้ม เวลาหัวเราะดูเหมือนไม่มีอารมณ์และความรู้สึกใดๆ เสียงพูดมักจะเบา มีจังหวะเดียว ไม่มีเสียง
สูงต่ำ หากพูดไปนานๆ เสียงจะหายไปในลำคอ การเขียนผู้ป่วยโรคพาร์กินสันจะเขียนหนังสือลำบาก
ตัวหนังสือจะค่อยๆ เล็กลงจนอ่านไม่ออกในที่สุด มีปัญหาด้านสายตา ผู้ป่วยจะไม่สามารถกลอกตาไปมาได้
คล่องแคล่วอย่างคนปกติ เพราะลูกตาจะเคลื่อนไหวแบบกระตุก 

7. นอกจากนั้นผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการท้อแท้ สิ้นหวัง ซึมเศร้า ซึ่งบางครั้งอาจเป็นมากถึงขั้นทำร้ายตัวเอง และอาจมีอาการแทรกซ้อนอื่นๆ ร่วมด้วย เช่น ท้องผูกเป็นประจำ อ่อนเพลีย เป็นต้น
แนวทางการรักษา
เนื่องจากโรคพาร์กินสันเป็นโรคเรื้อรังชนิดที่รักษาไม่หายขาด ผู้ป่วยจำเป็นต้องรับยาและรักษาไปตาม
อาการตลอดชีวิตภายใต้การดูแลของแพทย์ โดยแพทย์ได้แบ่งแนวทางในการรักษาไว้ดังนี้คือ

รักษาโดยการใช้ยา ซึ่งแม้ว่ายาจะไม่สามารถทำให้เซลล์สมองที่ตายไปแล้วฟื้นตัวหรือกลับมางอก
ทดแทนเซลล์เดิมได้ แต่การรักษาโดยการใช้ยาจะทำให้สารเคมีโดปามีนในสมองมีปริมาณเพียงพอกับความ
ต้องการของร่างกาย โดยยาที่ใช้ในปัจจุบันมี 2 กลุ่ม คือ ยากลุ่ม Levodopa ซึ่งเมื่อยาชนิดนี้เข้าสู่ร่างกาย
แล้วจะถูกแปลงเป็นสารโดปามีนเพื่อเสริมเซลล์สมองที่ไม่สามารถผลิตสารดังกล่าวได้มากพอ และยากลุ่ม
Dopamine Agonist ซึ่งออกฤทธิ์โดยเลียนแบบผลของโดปามีนในการนำส่งสัญญาณจากเซลล์ประสาทหนึ่งไปยังเซลล์ประสาทหนึ่ง ซึ่งในการใช้ยาแต่ละชนิดขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยจากแพทย์ตามความเหมาะสมของผู้ป่วยเป็นหลัก

การทำกายภาพบำบัด จุดมุ่งหมายของการรักษาคือ เพื่อให้ผู้ป่วยกลับคืนสู่สภาพชีวิตที่ใกล้เคียงคนปกติมากที่สุดซึ่งมีหลักวิธีปฏิบัติง่ายๆ คือ การพยายามทำกายภาพบำบัดด้วยการฝึกเดิน การฝึกพูด ทั้งนี้ผู้ป่วยต้องได้รับการเอาใจใส่จากคนรอบข้างในการพัฒนาฟื้นฟูด้านร่างกายและจิตใจอย่างเต็มที่
การผ่าตัด ซึ่งการผ่าตัดโดยมากจะได้ผลดีในผู้ป่วยที่มีอายุน้อยและมีอาการผิดปกติไม่มากนัก หรือในผู้ที่อาการแทรกซ้อนจากยาที่ใช้มาเป็นระยะเวลานานๆ เช่น อาการสั่นรุนแรง หรือมีการเคลื่อนไหวแขนขามากผิดปกติ เป็นต้น
นอกจากนั้นการออกกำลังกายมีความสำคัญเป็นอย่างมากสำหรับผู้ที่เป็นโรคพาร์กินสัน เพราะสามารถจะทำให้ผู้ป่วยรู้สึกผ่อนคลายและเคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันได้ดีขึ้น ซึ่งอาจทำได้หลายวิธี เช่น การวิ่ง
เหยาะๆ การเดินเร็วๆ ขี่จักรยาน หรือว่ายน้ำ เป็นต้น

แม้ว่าโรคพาร์กินสันมักจะเกิดขึ้นได้กับคนสูงวัย แต่อย่าลืมว่าการเตรียมพร้อมรับมือกับสารพัดโรคอยู่
เสมอ โดยการดูแลสุขภาพของตัวเองทั้งการออกกำลังกาย กินอาหารที่ถูกต้อง ทำจิตใจให้ผ่องใส ไม่เครียด
กับชีวิต ย่อมดีกว่าการที่จะปล่อยเวลาให้ผ่านไปโดยไม่ทำอะไรเลย เพราะโรคบางโรคเมื่อรอให้ถึงตอนแก่แล้วค่อยมาหาทางรักษา บางครั้งมันก็สายไปเสียแล้ว



http://www.asianlifeonline.net/02-Bim100/?id=M37757




daily hits

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น