“ความแก่” ในที่นี้หมายถึง สังขารอันร่วงโรย ที่ไม่ได้ชี้วัดที่ตัวเลขของอายุเป็นสำคัญ แต่ดูที่ความเสื่อมของระบบต่างๆ รวมถึงอวัยวะสำคัญของร่างกาย
ตัวเลขทางอายุอาจเป็นเพียงปัจจัยหนึ่งที่ทำให้อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายสึกหรอ แต่ด้วยปัจจัยทาง
|
สภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน อาทิ รูปแบบการดำเนินชีวิต การออกกำลังกาย การเลือกรับประทานอาหาร ฯลฯ สิ่งเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อระบบร่างกายทั้งภายในและภายนอก โดยไม่จำเป็นว่า คนอายุมากจะต้องมีปัญหามากกว่าคนอายุน้อยเสมอไป
ดังตัวอย่างของอาการผิดปกติที่เกิดกับอวัยวะสำคัญต่างๆ ดังนี้
| 1. สมองเสื่อม ความจำเสื่อม ความคิด การตัดสินใจเลอะเลือน ตัดสินใจเรื่องง่ายๆ ไม่ค่อยได้
2. ตา มองไม่ชัดเจนในระยะปกติ หรือระยะใกล้
3. หู อาจเกิดอาการไม่ค่อยได้ยิน ในกรณีที่คู่สนทนาพูดในระยะห่าง หรือในบางกรณีไม่ว่าคู่สนทนาจะอยู่ในระยะห่างไกล หรือใกล้ ก็ไม่ได้ยินเช่นกัน
4. ฟัน ฟันเสีย ฟันหัก ฟันโยกง่าย
5. ลิ้น ทานอะไรไม่ค่อยรู้รส ทุกอย่างดูจืดไปหมด ต้องกินรสจัดๆ โดยเฉพาะรสหวาน รสเค็ม
6. กระดูกสันหลัง จะมีอาการปวดโดยเฉพาะบริเวณต้นคอ ปวดคอ และมักจะลามไปถึงปวดหัวด้วย
คอมักจะแข็ง เคลื่อนไหวไม่ค่อยสะดวก หันไปมองอะไรด้านข้างหรือด้านหลังลำบาก
7. หลอดอาหาร เคี้ยวอาหารเสร็จแล้วกลืนลงลำบาก เมื่อดื่มน้ำหรือของเหลวอาจสำลักได้ง่าย
8. ปอด หายใจได้ไม่เต็มที่ เวลาขึ้นที่สูงจะเหนื่อยง่าย เช่น ขึ้นบันไดบ้านหรือที่ทำงานเพียงชั้นเดียวก็เหนื่อยแล้ว
9. หัวใจ มีอาการหัวใจเต้นไม่ปกติหรือไม่สม่ำเสมอ เดี๋ยวเต้นเร็ว เดี๋ยวเต้นช้า บางครั้งหมดแรงเหมือนจะเป็นลมง่ายๆ ทำงานออกแรงนานๆ ไม่ได้
10 กะบังลม คือ ที่กั้นระหว่างระบบหายใจกับช่องท้อง มีลักษณะเป็นแผ่น ดันขึ้นดันลงเวลาหายใจ โดยผู้สูงอายุควรระวังเรื่องการเลือกอาหารให้มาก เนื่องจากส่วนมากนั้นผู้สูงอายุมักจะกินอาหารแล้วย่อยยาก ทำให้ในท้องมีแก๊สหรือลมซึ่งจะดันกะบังลมให้ขึ้นไปอัดอยู่ข้างบน ส่งผลให้หายใจไม่ค่อยสะดวก และอาจเป็นลมได้ง่าย
11. ตับ เกิดภาวะการทำงานเสื่อมหรือด้อยลง โดยเฉพาะถ้าดื่มแอลกอฮอล์ในปริมาณมากและต่อเนื่อง อาจทำให้การทำงานของตับจะยิ่งแย่ลง ท้องอืด มีลมเสียดท้องอยู่เป็นประจำ
12. กระเพาะ อาจเกิดอาการทานอาหารไม่ค่อยได้ เพราะน้ำย่อยในกระเพาะเกิดภาวะกรดมากหรือน้อยเกินไป ซึ่งจะส่งผลต่อระบบการย่อยอาหารทั้งระบบ
13. ถุงน้ำดี ถ้าทานอาหารหวานๆ มันๆ เป็นประจำ อาจทำให้การย่อยโปรตีนและไขมันทำได้ไม่ดีนัก และเสี่ยงต่อภาวะนิ่วในถุงน้ำดีได้ง่าย
14. ตับอ่อน หากการทำงานของตับอ่อนเสื่อมลง จะทำให้มีปัญหาเรื่องน้ำตาลในเลือดสูง และ
โรคเบาหวาน โดยเฉพาะในกลุ่มผู้สูงอายุที่มีน้ำหนักมากเกินเกณฑ์มาตรฐาน มักจะมีปัญหาเรื่องน้ำตาลในเลือดแทบทั้งสิ้น
15. ไต อวัยวะสำคัญที่สุดอวัยวะหนึ่งในระบบขับถ่ายสิ่งมีพิษออกจากร่างกาย ซึ่งหากเลือกทานอาหารผิดมาตั้งแต่ต้น จะมีปัญหาเกี่ยวกับระบบการทำงานของไตเมื่ออายุมากขึ้น
16. ต่อมหมวกไต หากใช้ชีวิตสมบุกสมบันมาตั้งแต่หนุ่มๆ สาวๆ ร่างกายอาจมีปัญหาเรื่องฮอร์โมน
ซึ่งต่อมหมวกไตมีหน้าที่ผลิตฮอร์โมนสำคัญชนิดหนึ่ง ที่ทำให้ร่างกายมีแรงมีชีวิตชีวา นอกจากนี้ต่อมหมวกไตยังมีหน้าที่สร้างฮอร์โมนสำคัญๆ โดยเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับฮอร์โมนเพศ ฮอร์โมนที่จะช่วยในการย่อยอาหาร และฮอร์โมนที่จะทำให้เกิดพลังพิเศษเวลาตกใจ หรือเวลาที่จะต้องต่อสู้เอาตัวรอดด้วย
17. ลำไส้ใหญ่ หน้าที่ของลำไส้ใหญ่คือ ขับถ่ายของเสีย (อุจจาระ) ออกจากร่างกาย แต่ก่อนจะเป็นอุจจาระ ลำไส้จะต้องเตรียมระบายน้ำจากของเสียทีละน้อยจากตอนต้นของลำไส้ใหญ่ และค่อยๆ เคลื่อนไปตอนกลางและตอนปลายของลำไส้ หากการทำงานของลำไส้ใหญ่ไม่ดี ระบบการขับถ่ายอุจจาระจะค่อยๆ เสื่อมลง ทำให้ท้องผูกหรือท้องเสียได้
18. ลำไส้เล็ก ยาวประมาณ 23 เมตร และเป็นส่วนที่ช่วยย่อยอาหารประเภทโปรตีนและไขมัน และหน้าที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ ช่วยดูดซึมสารอาหารที่ย่อยแล้วส่งเข้าไปในกระแสโลหิต เพื่อไป
หล่อเลี้ยงร่างกาย ซึ่งร่างกายคนเราจะแข็งแรงสมบูรณ์ได้ก็เนื่องมาจากอาหารที่ถูกย่อย และดูดซึมเข้าไปเลี้ยงร่างกายจากลำไส้เล็กนี้ ฉะนั้น ผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับระบบการย่อยอาหารและการดูดซึมไม่ดีนั้น อาจทำให้ร่างกายไม่มีแรง
19. ท่อปัสสาวะจากไต (Ureter) เป็นท่อน้ำปัสสาวะที่ไตขับออกมา แต่แทนที่จะออกจากไตโดยตรง น้ำปัสสาวะจากท่อสองท่อนี้ จะถูกนำไปเก็บรอไว้ที่กระเพาะปัสสาวะก่อน ผู้ที่มีการทำงานของไตและการขับถ่ายปัสสาวะผิดปกติ จะเกิดอาการปัสสาวะไม่ออก น้ำปัสสาวะย้อนผ่านท่อยูรีเทอร์ขึ้นข้างบนไปจนถึงไต ซึ่งเป็นอันตรายมาก
20. กระเพาะปัสสาวะ เวลามีปัญหาเรื่องการขับถ่ายปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะไม่ออก ปัสสาวะราด มักเกิดจากการมีปัญหาร่วมกันระหว่างอวัยวะต่างๆ ได้แก่ ไตท่อยูรีเทอร์ กระเพาะปัสสาวะท่อปัสสาวะ และอวัยวะสืบพันธุ์
21. ท่อปัสสาวะ เป็นท่อปัสสาวะโดยตรงจากกระเพาะปัสสาวะผ่านอวัยวะสืบพันธุ์ และขับออกจาก
ร่างกาย โดยท่อปัสสาวะของผู้หญิงจะสั้นกว่าของผู้ชาย
22. ต่อมลูกหมาก ต่อมลูกหมากอยู่รอบโคนอวัยวะสืบพันธุ์ชาย (ระหว่างปลายท่อปัสสาวะและโคนอวัยวะสืบพันธุ์) ตามสถิติผู้ชายอายุเกิน 50 ปีขึ้นไปจะมีอาการต่อมลูกหมากอักเสบกันแทบทั้งนั้น
23. อวัยวะสืบพันธุ์ชาย เมื่ออายุมากขึ้นมักจะมีขนาดเล็กลง และมักจะมีปัญหาในเรื่องการร่วมเพศและการปัสสาวะ
24. ลูกอัณฑะ ทำหน้าที่สร้างสเปิร์มหรือเชื้ออสุจิ และจะหยุดสร้างเมื่อมีอายุมาก ซึ่งจะเร็วหรือช้าขึ้นอยู่กับว่าใช้ชีวิตทางเพศสมบุกสมบันเพียงใด
25. มดลูก – 26. รังไข่ – 27. ท่อรังไข่ อันที่จริงอวัยวะทั้งสามอย่างของคุณผู้หญิงนี้ อยู่ใกล้ชิดสนิทกัน มีหน้าที่ส่งเสริมซึ่งกันและกันในระบบการสืบพันธุ์ และการสร้างฮอร์โมน คุณผู้หญิงจะมีโอกาสตั้งครรภ์ตั้งแต่เป็นสาว จนกระทั่งถึงวัยหมดประจำเดือน หากหมดประจำเดือนเมื่อไรก็จะมีปรากฏการณ์ของ “ความแก่” แสดงตัวออกมาให้เห็น เพราะฉะนั้นถ้าหมดประจำเดือนเร็ว ความเสื่อมของอวัยวะทั้งสามอย่างจะเกิดขึ้นเร็ว นั่นหมายถึง “ความแก่” ก็จะมาเร็วด้วย |
ลองสำรวจร่างกายตัวเองอย่างจริงจัง และตอบคำถามอย่างจริงใจว่า “ความแก่” มาเยือนคุณหรือยัง ถ้าได้
คำตอบว่า “ยัง” ก็ควรถือโอกาสดีนี้ ดูแลตัวเอง ทั้งการรับประทานอาหาร ออกกำลังกาย และตรวจสุขภาพตามกำหนด เริ่มกันตั้งแต่วันนี้ แล้วความชราจะชะลอการมาเยือนทันทีเช่นกัน |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น